วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Day 10
วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤศจิกายน 2562

   วันนี้เป็นการนำเสนอรายละเอียดของโครงการแต่ละกลุ่มที่ได้ไปจัดแต่ละสถานที่ของกลุ่มตนเอง
กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอในโครงการ"ศิลปะสร้างสรรค์แบ่งปันรอยยิ้ม" ณ หมู่บ้านโกสุมร่วมใจ3

1.วันและเวลา/สถานที่
    วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ 2562 ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่บ้านโกสุมร่วมใจ 3

2.หน้าที่รับผิดชอบ
ฝ่ายเอกสาร
1.นางสาวกฤษณา กบขุนทด    ประธาน
2.นางสาวสุชัญญา บุญญะบุตร กรรมการ
3.นางสารประภัสสร แทนด้วง   กรรมการและเลขานุการ

ฝ่ายสถานที่
1.นางสาวกฤษณา กบขุนทด ประธาน
2.นางสาวสุดารัตน์ อาสานามิ กรรมการ

ฝ่ายจัดเตรียมโสตทัศนูปกรณ์/ถ่ายภาพ
1.นางสาวกฤษณา     กบขุนทด       ประธาน
2.นางสาวสุชัญญา    บุญญะบุตร     กรรมการ
3.นางสาวประภัสสร   แทนด้วง        กรรมการและเลขานุการ

ฝ่ายประสานงาน
1.นางสาวกฤษณา       กบขุนทด  ประธาน
2.นางสาวรัตนา            พงษา       กรรมการ
3.นางสาวชนนิกานต์    วัฒนา       กรรมการ

ฝ่ายวิทยากร
1.นางสาวกฤษณา   กบขุนทด       ประธาน
2.นางสาวสุชัญญา  บุญญะบุตร     กรรมการ


 1.สมาชิกในกลุ่ม                           


                                                   
  2.ผู้ปกครองเดินชมบอร์ดนิทรรศการ
                                           

3.รวมผู้ปกครองทำกิจกรรมในแต่ละฐาน 
                                                       











วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Day 9
วันพฤหสบดีที่ 31 ตุลาคม 2562

   อาจารย์ได้ตรวจรายะเอียดของโครงการก่อนที่กลุ่มเราจะได้ลงพื้นที่จริงและอาจารย์ได้ใหเราลองซ้อมสถานทีที่เราจะได้ลงจริงๆ โครงการของเราชื่อ....โครงการศิลปสร้างสรรค์แบ่งปันรอยยิ้ม


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังรายละเอียดโครงการ

ประเมินเพื่อน   : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา เข้าพบปรึกษาอาจารย์ทุกกลุ่ม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ปรับเปลี่ยนแก้ไขโครการนิดหน่อยเพื่อให้ละเอียดครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
Day 8
วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562

        อาจารย์ตรวจเอกสารของโครงการของทุกๆกลุ่มอย่างละเอียดและชัดเจนอีกครั้งก่อนที่จะลงพื้นที่จริงๆ



ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังรายละเอียดโครงการ

ประเมินเพื่อน   : เพื่อนทุกกลุ่มเข้าปรึกษาอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข

ประเมินอาจารย์ :อาจารย์ให้คำแแนะนำเอกสารและนำเอกสารมาปรับปรุงนิดหน่อยค่ะ

Day 7
วันพฤหสบดีที่ 17 ตุลาคม 2562



    วันนี้อาจารย์ได้ตรวจรายละเอียดโครงการของแต่ละกลุ่ม เพื่อที่จะดูความคืบหน้าของโครงการและเพื่อดำเนินโครงการไปได้ด้วยดีและอาจารย์ได้ให้ส่งงานสานสัมพันธ์สำหรับผู้ปกครอง

สานสัมพันธ์หน่วย "อาหารดีมีประโยชน์ "





ประเมินตนเอง   :วันนี้เข้าเรียนสาย แต่เข้ามาทันพอที่จะฟังโครงการขอองตนเอง

ประเมินเพื่อน     :เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์ :ให้คำแนะนำโครงการ กิจกรรมได้อย่างละเอียดเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับแก้ได้

Day 6
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2562

        วันนี้อาจารย์ได้นัดให้มาพูดคุยเรื่องการให้ความรู้ผู้ปกครองของทุกๆกลุ่ม ในเอกสารต้องมีเอกสารการขอสถานที่ การทำแบบสอบถามของผู้ปกครองและแบบบันทึกกิจกรรมและหลังจากพูดคุยแล้วอาจารย์ได้แจกอุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมหรือทำบอร์ดให้ความรู้ผู้ปกครอง


ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ฟังคำแนะนำจากอาจารย์

ประเมินเพื่อน     : ข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์พูด

ประเมินอาจารย์  : ชี้แจงวัตถุประสงค์อย่างละเอียด 

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

Day 5
วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2562




      วันนี้อาจารย์ได้สอนในบทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง สถานศึกษาจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย 

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์
   เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงพ่อแม่เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ประกอบด้วย

  • รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
  • พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
  • กิจกรรมครอบครัว กิจกรรมที่พ่อแม่ร่วมทำกับเด็กโโยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ 
  • เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง การให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ปัญหาพฤติกรรม
  • ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
จดหมายข่าวและกิจกรรม
    เป็นการนำเสนอความรู้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก จัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ กิจกรรมอาจจะเป็นเรื่องดังนี้
  • ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด้กและผู้ปกครอง
  • กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับพ่อแม่ เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา
  • ความรู้สำหรับผู้ปกครอง
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด้กต่ำกว่า 3 ปีผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
     เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่เป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ 
  • วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
  • การสนทนากลุ่ม
  • อภิปรายกลุ่ม
  • การบรรยาย
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไทย
      ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสรา้งสรรค์ในเด็กและเยาวชน ให้พ่อแม่นำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย 
  • แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด้กสำหรับพ่อแม่
  • คู่มือความรู้และจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสรา้งสรรค์
  • หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
  • ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
  • จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง
ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
    จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุห้อง โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับพ่อแม่จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น 
  • ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์
  • เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้
  • ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
  • ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
  • กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงปีใหม่
การสนทนา
    การสนทนาเป็นรุปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป้นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอวงและช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองไปได้อย่างราบรื่น มีวัตถุประสงค์ในการสนทนา ดังนี้
  • เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
  • เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
  • เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน 
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
ห้องสมุดผู้ปกครอง 
    เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผฃต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

ป้ายนิเทศ
    ป้ายนิเทศเป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
  • ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน 
  • ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร 
  • ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
  • ประกาศต่างๆ
  • ข่าวสารบรืการต่างๆ
  • กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ 
  • ป้ายสำหรับพ่อแม่ในความคิดเห็น
นิทรรศการ
    เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูงข่าวสาร กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง การใช้สื่ออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เช่น การเขียน ภาพถ่าย สถิติ รูปแบบการจัดนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษา ดังนี้
  • นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
  • นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
  • นิทรรศการเพื่อความบันเทิง
มุมผู้ปกครอง
   เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับส่งเด็กหรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญ คือ 
  • ให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก
  • สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างพ่อแม่ด้วยกัน
  • เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ 

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน

    ข่าวสาร                           จดหมายข่าว                           ป้ายนิเทศ                            การสนทนา
ประจำสัปดาห์                      และกิจกรรม


รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
คู่มือ    นิทรรศการ
มุมผู้ปกครอง ห้องสมุด การประชุม จุลสาร ระบบอินเทอร์เน็ต ป้ายนิเทศ

รุป รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครอง สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง มีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆถึงผู้ปกครองอย่างทั่วถึง รวมเร็ว และมีการตอบกลับเพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทและตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ

คำถามท้ายบท 
1.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1.ข่าวสารประจำสัปดาห์
         2.จดหมายข่าว
         3.กิจกรรม

2.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1.การสนทนา เช่น การพบปะพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเด็ก 
2.ป้ายนิเทศ เพื่อให้ความรู้ข่าวสารกับผู้ปกครอง
3.นิทรศการ เช่น นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
4.การประชุม เช่น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
5.ห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าในในการดำเนินงานของสถานบันที่เด็กศึกษา
6.มุมผู้ปกครอง เช่น ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
7.อินเทอร์เน็ต เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับสถานศึกษา บุคลากรในสถานศึกษา ต่างๆ
8.จุลสารประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครอง
9.คู่มือผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูงข่าวสารกับสถานศึกษา 

3.นักศึกษามีวิธีหรือแนวทางการแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหร่ือ
กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ การทำจดหมายข่าวสาร เพื่อแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ หรือในปัจจุบันต้องเป็นโลกของออนไลน์ อินเทอร์เน็ต 

4.การจัดกิจกรรมการให้ความรู็ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองตระหนักในความสำคัญการพัฒนาและการมีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กปฐมวัย 

5.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ การสนทนา เพราะสามารถอธิบายได้ เมื่อผู้ปกครองมีข้อสงสัยหรืออยากแสดงความคิดเห็นก็สามารถสอบถามหรือพูดคุยได้ซึ่งกันและกัน 
Day 4
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2562



     วันนี้ได้เริ่มเรียนในบทที่ 4 เรื่อง...โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ สถานศึกษาทุกระดับทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ในการจัดการศึกษา การให้ความรู้กับผู้ปกครองเป็นภารกิจที่สถานได้ดำเนินงานในรูปแบบที่แตกต่างไปในแต่ละประเทศ

โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการแม่สอนลูก
  • ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
  • จัดสำหรับเด้กที่ด้อยโอกาส โดยให้แม่เป็นผู้สอนเอง
  • ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
  • ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
  • แม่มีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ
  • เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
การพัฒนาการรูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด้กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
     เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงต่ำกว่า 3 ปี โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง มี 4 รูปแบบ
  • วิธีกระบวนการมีส่วนร่วม
  • วิธีการสนทนากลุ่ม
  • วิธีอภิปรายกลุ่ม
  • วิธีการบรรยาย
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว "บ้านล้อมรัก"
      ดำเนินกรโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม เสพติด ภายใต้ คำขวัญ "พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด "เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลเอาใส่ใจบุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่อง คือ 
  • ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
  • ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตสัมพันธ์ กิจกรรมและสัมภาษณ์
  • สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด
  • กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกมกีฬา เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start Thailand)
      โครงการหนังสือเล่มแรก ปี 2546 โดยริเริ่มมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน ส่วนภาคเกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศเริ่มดำเนินโครงการ "รวมพลัง รักการอ่าน "เกิดขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน เป้าหมายที่จะทำให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ โดยการสร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ภายในครอบครัว ส่เสริมการเรียนรู้ด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
      เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมพัฒนาชุมชน กรมการศึกษษนอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอีหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูการเจริญเติบโต พัฒนาการเหมาะสมตามวัยสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคม โดยมีกิจกรรม ดังนี้
  • การเตรียมชุมชน การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร
  • จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู
  • จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในชั้น ป.5
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
     ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษษค่อนข้างสูง เพราะการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพดังนั้นจึงมีการการจัดการศึกษาให้กับเด็กอายุ 3-4 ปี รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาในประเทศอิสราเอล

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
      1930 อเมริการได้ประสบปัยหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อครอบครัว ได้ประชุมเรื่อง สุขภาพของเด็กและแนวทางในการแก้ปญหา เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
  • เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตในครอบครัว
  • แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมของเด็ก
  • อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีต่อชีวิตครอบครัว
  • เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
โครงการเฮดสตาร์ท (Head Start)
    เป็นโครงการระดับให้บริการด้านพัฒนาการแก่อายุ 3-5 ปีพ่อแม่มีรายได้และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็ก การบริการเฉพาะสำหรับเด็ก เน้นการศึกษษ พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ เฮดสตาร์ทมีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ดังนี้
  • สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
  • เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริหารชุมชนที่มีความต้องการ
  • ประกันโครงการที่จัดการดีกว่าพ่อแม่เด็ก
โครงการโฮมสตาร์ท (Home Start Program)
    พ่อแม่มีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ สร้างความสำนึกให้พ่อแม่เห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็กและชี้ให้เห็นในการศึกษากับเด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการเรียนในเด็กด้อยโฮกาส

โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
     ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนา ปี 2536 จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก ในด้านการอบรมเลี้ยงดูและการศึกษษช่องเด็กเล็ก ในปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรเป็นมนุษย์ดำเนินการโครงการ สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากผลักดันในท้องถิ่น

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์ 
      นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัยโดยการศึกษานี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัยและมีส่วนร่วในการตัดสิน

โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
       โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายถึงปรัชญาเป็นรากฐานของปฐมวัย และนโบายของประโยชน์ที่มีต่อผูเปกครอง มีการสำรวจความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลและนิทรรศการต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
      ศูนย์สุขภาพเด็ก เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป จะทำการนัดหมายพ่อแม่พาไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของเด็ก

รุป โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ยกตัวอย่างมา จะเห็นได้ว่าในแต่ละประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาการเด็กตั้งแต่เด็กเล็ก ซึ่งในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญเป็นอย่างมาก การเริ่มต้นที่ดีของชีวิตพ่อแม่จึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ

คำถามท้ายบท
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เพื่อเป็นการพฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ จัดทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เช่น โครงการการประดิษฐ์ของเล่นจากเศษวัสดุเหลือใช้จากสิ่งต่างๆภายในบ้านของตนเอง ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับเด็ก

3.ในฐานะนักศึกษาจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็กๆ มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่าง
ตอบ 1.เรื่องอาหารโภชนการ เช่น เด็กในแต่ละช่วงวัย ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัยนั้นๆ
2.พัฒนาการทัั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เช่น การส่งเสริมกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
3.สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การประดิษฐ์ของเหลือใช้จากวัสดุในบ้าน ให้ผู้ปกครงได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนั้นๆ
4.นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การเลือกนิทานที่ดีที่เหมาะสมกับเด็ก
5.เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย จะช่วยส่งเสริมทั้งภาษาและส่งเสริมพัฒนาการ

4.การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก เพราะการให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องราวเด็ก เช่น เด็กในแต่ละวัยจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปแต่เด็กบางคนอาจไม่แสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็น ทำให้ผู้ปกครองควรส่งเสริมพฤติกรรมนั้นๆของเด้กที่แสดงออกมา

5.นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ พูดคุยกับผู้ปกครองอยู่สม่ำเสมอทำให้เราได้รู้จักผู้ปกครองและผู้ปกครองจะได้รู้พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัน